หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อย่อ : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อ : B.P.A. (Public Administration)
ปรัชญาและความสำคัญ
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถนำความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์และศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการร่วมสร้างนวัตกรรมการบริหารภาครัฐและภาคท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สาธารณะ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ บัณฑิตมีสมรรถนะ ดังนี้
1. มีความรู้และเข้าใจหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยสามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้
2. สามารถวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่ซับซ้อน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และบูรณาการงานวิจัย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและร่วมสร้างนวัตกรรมการบริหารภาครัฐและภาคท้องถิ่นได้อย่างสร้างสรรค์
3. สามารถปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลาย รับฟังความเห็นที่แตกต่างและแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์ สร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน
4. มีทักษะการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลายในการสืบค้นข้อมูล ศึกษา และวิเคราะห์ประเด็นด้านรัฐประศาสนศาสตร์ด้วยตนเอง
5. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยรู้เท่าทันโลก
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 15 หน่วยกิต
- กลุ่มภาษาไทย 3 หน่วยกิต
- กลุ่มภาษาอังกฤษ 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จำนวน 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จำนวน 3 หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 3 หน่วยกิต
1.5 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรมและการจัดการ จำนวน 3 หน่วยกิต
1.6 กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป 3 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 87 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 33 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเอก จำนวน 33 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาโท ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
1. ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีเนื้อหาสาระครอบคลุมทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งหมายรวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ในปรัชญาการเมือง บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารและให้บริการภาครัฐ นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐทั้งในระดับชาติ ภูมิภาคและท้องถิ่น รวมทั้งเน้นแนวคิดและกระบวนการต่างๆในการบริหารงานภาครัฐ มุ่งเน้นการสร้างพหุวิทยาการเพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้มีความรู้ ปัญญาและทักษะในการประกอบวิชาชีพในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและให้บริการของรัฐในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และเป็นธรรม (มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558)
นอกจากความสำคัญของหลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 แล้ว หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ยังมีรายวิชาที่สอดแทรกเนื้อหาหลักการบริหารงานองค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาคไม่แสวงหากำไรอีกด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มทางเลือก ขยายองค์ความรู้ที่นักศึกษาจะได้รับและใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากการถ่ายทอดตัวอย่างกรณีศึกษา รับฟังความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรซึ่งมีประสบการณ์ตรงในภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาเฉพาะของหลักสูตร และจากการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรในภาคเอกชน และองค์กรภาคไม่แสวงหากำไร อีกทางหนึ่ง
2. ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติปรัชญาของการอุดมศึกษาปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากลเน้นผลิตบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ ควบคู่ศีลธรรมจรรยา มีภาวะผู้นำ ตระหนักถึงผลประโยชน์สาธารณะ การเสียสละรับใช้ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ประเทศ ตระหนักถึงความเคลื่อนไหวในการบริหารองค์กรภาครัฐ และภาคส่วนอื่น ๆ ของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และการคงรักษาไว้ ซึ่งภูมิปัญญาชุมชน ท้องถิ่น ผ่านการจัดการความรู้ ตลอดจนนำไปสู่การใช้ปัญญาและความร่วมมือเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการบริหารองค์กรภาครัฐ และภาคส่วนอื่น ๆ อย่างมีส่วนร่วม
3. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีความรู้ความสามารถ ดังนี้
3.1 มีความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุม สอดคล้อง และเป็นระบบในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
3.2 ตรวจสอบปัญหาที่ซับซ้อน และพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์จากความเข้าใจที่ลึกซึ้งของตนเอง และความรู้จากสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องโดยอาศัยคำแนะแนะแต่เพียงเล็กน้อย
3.3 สามารถค้นหา ใช้เทคนิคทางสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ตลอดจนการเลือกใช้กลไกที่เหมาะสมในการสื่อผลการวิเคราะห์ต่อผู้รับข้อมูลข่าวสารกลุ่มต่าง ๆ
3.4 มีคุณธรรม จริยธรรมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.4 สามารถนำความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การวิเคราะห์และพัฒนาการบริหารภาครัฐและการพัฒนาท้องถิ่นได้
3.5 มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในผลงานวิจัยต่าง ๆ ในสาขาวิชานั้น ความสามารถในการแปลความหมาย การวิเคราะห์ และประเมินความสำคัญของการวิจัยในการขยายองค์ความรู้ในสาขาวิชา
4. โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา
|
กลุ่มวิชา
|
จำนวนหน่วยกิต
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
|
ไม่น้อยกว่า
|
30 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มภาษา
|
15 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
|
6 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
|
6 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป
|
3 หน่วยกิต
|
หมวดวิชาเฉพาะ
|
ไม่น้อยกว่า
|
93 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ
|
33 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มวิชาเอก (บริหารองค์การ หรือ บริหารงานท้องถิ่น)
|
33 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ปี 4 เทอม 2)
|
9 หน่วยกิต
|
|
กลุ่มวิชาโท (การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือ การจัดการภาครัฐ หรือ นโยบายสาธารณะ หรือ โทอื่นๆ)
|
1
|